ได้มีการศึกษาใหม่เกี่ยวกับความเป็นในได้ในการรักษาแผลเรื้อรัง และความเป็นไปได้ในการปลูกผิวหนังบนแผลนั้นๆ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Birmingham และมหาวิทยาลัย Huddersfield ได้ใช้เทคนิคพิเศษของวิศวกรรมเนื้อเยื่อเพื่อการพัฒนาสิ่งที่เทียบเท่ากับผิวหนังของคนโดยสร้างมาจาก 3D Printer โดยการค้นพบนี้อาจจะสามารถนำไปใส่ในบาดแผล เพื่อเร่งอัตราการรักษาบาดแผล อ้างอิงจากบทความของ Forbes (3D Printed Skin? Potential New Treatment For Chronic Wounds (forbes.com)
กระบวนการนั้นถูกอธิบายในบทวิจัยตีพิมพ์ใน APL Bioengineering โดย Richard Moakes et al. (A suspended layer additive manufacturing approach to the bioprinting of tri-layered skin equivalents: APL Bioengineering: Vol 5, No 4 (scitation.org))
จากบทความข้างต้น จุดที่ยุ่งยากนั้นคือการสร้างชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนของลักษณะผิวทั้ง 3 ส่วนให้เหมือนผิวหนังของมนุษย์ (Epidermis, Dermis, Hypodermis)
เหมือนคอมพิวเตอร์ที่ต้องการหมึกในการพิมพ์ เครื่อง 3D Printer ก็ต้องการ “หมึก” เช่นกัน โดยนักวิจัยได้ใช้ “Bio-ink” ที่สร้างจากเซลล์ชนิดที่เขาต้องการในการลอกเลียนแบบในการพิมพ์เนื้อเยื่อ ซึ่ง Moakes et al. ใช้ Pectin และ Collagen เป็นส่วนผสม โดยปรับอัตราส่วนให้เหมือนกับชั้นผิวหนังต่างๆ
การค้นคว้าด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3D นี้มีโอกาสที่จะสามารถรักษาแผลเรื้อรังได้ และมีโอกาสต่อยอดไปสู่การปลูกเซลล์ผิวหนังเพื่อรักษาแผลประเภทต่างๆ ซึ่งสามารถรักษาได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็วที่สุด