ประวัติสมาคมการค้านวัตกรรมการพิมพ์ไทย

สมาคมป้ายและพิมพ์สกรีน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2521 เพื่อการพัฒนาธุรกิจป้ายโฆษณาและการพิมพ์สกรีน หลังจากการดำเนินกิจกรรมสมาคมฯเป็นระยะเวลา 14 ปี สมาชิกซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการพิมพ์สกรีนได้เสนอแนวคิดในการก่อตั้งสมาคมการพิมพ์สกรีนไทยเพื่อการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีนไทยโดยตรง ดังนั้น เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2535 ซึ่งเป็นวันประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมป้ายและพิมพ์สกรีนได้มีวาระพิจารณาแบ่งการดำเนินงานระหว่างอุตสาหกรรมป้ายโฆษณาและอุตสาหกรรมการพิมพ์สกรีน ซึ่งที่ประชุมใหญ่สามัญฯมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ให้สมาคมป้ายและพิมพ์สกรีนแก้ไขข้อบังคับตลอดจนเปลี่ยนชื่อสมาคมเป็นสมาคมผู้ผลิตป้ายโฆษณา (ADVERTISING SIGN PRODUCER ASSOCIATION)

หลังจากนั้นผู้ประกอบการพิมพ์สกรีน 3 ท่าน คือ คุณชวาล โสตถิวันวงศ์
คุณชัยบูรณ์ กุลสิริสวัสดิ์ และคุณยงยุทธ ตั้งจิตปิยะนนท์ ได้เป็นผู้ร่วมก่อการตั้งสมาคมการพิมพ์สกรีนไทย โดยยื่นขอจดทะเบียนเป็นสมาคมที่ถูกต้องตามกฎหมายต่อกรมการค้าภายใน-กระทรวงพาณิชย์ซึ่งนายทะเบียนสมาคมการค้าประจำกรุงเทพมหานครได้พิจารณาอนุมัติและจดทะเบียนเป็นสมาคม โดยมีชื่อว่า "สมาคมการพิมพ์สกรีนไทย"

วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สมาคมการพิมพ์สกรีนไทย ได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อ
เป็น “ สมาคมการค้านวัตกรรมการพิมพ์ไทย ” และชื่อภาษาอังกฤษ “ Thai
Innovative Printing Trade Association ” โดยใช้ตัวย่อ TINPA เนื่องจาก
ปัจจุบันการพิมพ์สกรีนและดิจิตอล เริ่มมีการพัฒนาศักยภาพเพิ่มมากขึ้น
ในการพิมพ์วัสดุหลายๆประเภท ทั้งนี้สมาคมจึงได้พิจารณาบริบทและบทบาท
ของอุตสาหกรรมการพิมพ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีเทคโนโลยีการพิมพ์ที่
ทันสมัยเข้ามาสอดคล้องในการผลิต อันก่อให้เกิด "นวัตกรรมการพิมพ์"

ดังนั้นเพื่อการพัฒนาสมาคมฯให้ดำเนินงานก้าวหน้าสืบเนื่องต่อไปโดยสามารถ
เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการพิมพ์ อุตสาหกรรมต่างๆที่มีแนวโน้มการควบรวม
เทคโนโลยีต่างเข้าด้วยกัน จึงได้พิจารณาปรับเปลี่ยนชื่อสมาคมฯที่สามารถ
สอดคล้องและตอบรับต่อสถานการณ์ ที่กำลังเปลี่ยนแปลงพร้อมสร้างความ
เข้าใจสถานภาพใหม่ของสมาคมฯ เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์
"นวัตกรรมการพิมพ์"

สมาคมฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากทุกท่าน
และสมาคมฯ มุ่งมั่นดำเนินงานตามแผนงาน นโยบาย การขยายเครือข่ายพัฒนา
สมาคมฯ ให้ประสบผลสำเร็จทั้งในและต่างประเทศ อย่างต่อเนื่อง

ลำดับการเปลี่ยนชื่อสมาคมฯ
  • พ.ศ. 2521           สมาคมป้ายและพิมพ์สกรีน
  • 28 เมษายน 2521   สมาคมผู้ผลิตป้ายและโฆษณา
  • 9 ตุลาคม 2535     ก่อตั้ง สมาคมการพิมพ์สกรีนไทย โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “THAI SCREEN PRINTING ASSOCIATION” โดยใช้ตัวย่อ TSPA
  • พ.ศ. 2552          เปลี่ยนแปลงชื่อภาษาอังกฤษเป็น “THAI SCREEN PRINTING & GRAPHIC IMAGING ASSOCIATION” โดยใช้ตัวย่อ TSGA
  • 2 ธันวาคม 2562   สมาคมการพิมพ์สกรีนไทย เปลี่ยนชื่อสมาคมเป็น “สมาคมการค้านวัตกรรมการพิมพ์ไทย” ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “THAI INNOVATIVE                           PRINTING TRADE ASSOCIATION” โดยใช้ตัวย่อ TINPA


วิสัยทัศน์
“เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมการพิมพ์ระดับสากล”

พันธกิจ
1. สู่ศูนย์กลางสินค้า และบริการ ด้านนวัตกรรมการพิมพ์
2. สู่การเป็นศูนย์กลางข้อมูลและแหล่งเรียนรู้ของนวัตกรรมการพิมพ์
3. สู่การเชื่อมโยงพันธมิตรทางธุรกิจแก่สมาชิกในระดับสากล
4. เป็นตัวแทนสมาชิกในการเชื่อมโยงกับภาครัฐ

เป้าประสงค์ของสมาคม (Corporate Goal)
1. มีโครงสร้างพื้นฐานการบริหารงานที่มีแบบแผน มีธรรมาภิบาลและดึงดูดคนรุ่นใหม่เข้าร่วมงานได้ง่าย
2. มีฐานสมาชิกที่กว้าง ครอบคลุ่มห่วงโซ่อุปทานที่ใช้นวัตกรรมการพิมพ์เพิ่มมูลค่าสินค้า
3. เพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล
4. บูรณาการห่วงโซ่อุปทาน อันเกี่ยวเนื่องกับนวัตกรรมการพิมพ์ทั้งภาคการศึกษา ภาคเอกชน และ ภาครัฐ
5. สร้างโอกาสการเชื่อมโยงพันธมิตรในระดับสากล
6. มีฐานข้อมูล และ ความรู้ ที่สมาชิกเข้าถึงได้ง่ายและทันต่อยุคสมัย
7. สร้างนวัตกรรมและสินค้าใหม่ในอุตสาหกรรมการพิมพ์

คุณค่า
1. คุณค่าอันสำคัญคือมิตรภาพ ความร่วมมือของมวลหมู่สมาชิกและบุคลากรในอุตสาหกรรมการพิมพ์ และนวัตกรรมการพิมพ์ ในการร่วมดำเนินกิจกรรม
    ของสมาคมฯ
2. กระบวนการของนวัตกรรมการพิมพ์ที่มีความพิเศษของศาสตร์ และศิลป์ และความสามารถเชิงประยุกต์ในการสร้างผลิตภัณฑ์ทั้ง 16 กลุ่มอุตสาหกรรม
    ดังต่อไปนี้
  • ผ้า
  • เซรามิกส์ แก้ว
  • สิ่งพิมพ์
  • ป้าย
  • ฉลากสินค้า และบรรจุภัณฑ์
  • ของเล่น
  • ของขวัญ
  • บัตรพลาสติก
  • อุปกรณ์กีฬา
  • อุปกรณ์ยานยนต์
  • อุปกรณ์ไฟฟ้า
  • แผงวงจรไฟฟ้า
  • เมมเบรนสวิตซ์
  • วัสดุและอุปกรณ์การพิมพ์สกรีน
  • อุปกรณ์ตกแต่งภายใน
  • อุตสาหกรรมอื่นๆ
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้