อิฐเก็บพลังงาน

Ordinary Bricks Laced With Conductive Fibres Can Store Energy

     อิฐเป็นหนึ่งในวัสดุก่อสร้างที่แข็งแกร่งที่สุดที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในการก่อสร้างมานานกว่า 6,000 ปี ซึ่งคุณสมบัติพิเศษของอิฐนั้น จะมีความทนไฟและทนทานต่อสภาพอากาศสูง ยิ่งไปกว่านั้น อิฐยังสามารถดูดซับความร้อนที่ถ่ายเทในระหว่างวันและปล่อยมันออกมาในตอนกลางคืน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างสูงต่อการรักษาอุณหภูมิในอาคารบ้านเรือน

       ผลการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ใน Nature Communications จากนักวิจัยเคมีจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันในเซนต์หลุยส์  ระบุว่าอิฐสีแดงสามารถใช้เก็บพลังงานและทำหน้าที่เป็นแบตเตอรี่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทีมวิจัยได้สร้างเทคนิคที่ทำให้อิฐสามารถเก็บพลังงานและนำไปใช้กับอุปกรณ์จ่ายไฟได้ โดยอิฐสามารถเชื่อมต่อกับแผงโซลาร์เซลล์และเก็บพลังงานมาหมุนเวียนได้
     โดยหลักการทำงานของมันคือการใช้รูพรุนที่อยู่ในโครงสร้างของอิฐซึ่งจะมีคุณสมบัติพิเศษคือสามารถจัดเก็บพลังงานได้ ซึ่งรูพรุนเหล่านั้นจะเต็มไปด้วยไอกรดโดยทำหน้าที่เป็นตัวละลายของเหล็กออกไซด์ (หรือสนิม) โดยก๊าซจะถูกส่งผ่านโพรงของอิฐซึ่งเต็มไปด้วยวัสดุที่มีกำมะถันซึ่งทำปฏิกิริยากับเหล็ก เป็นผลทำให้สาร โพลีเมอร์ PEDOT ซึ่งเป็นพลาสติกนำไฟฟ้าที่เคลือบอยู่รอบรูพรุนของอิฐ โดยทำหน้าที่เป็นฟองน้ำไอออนที่เก็บและนำไฟฟ้าไปใช้ได้ Julio M. D'Arcy ผู้ร่วมวิจัยและผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านเคมีแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันในเซนต์หลุยส์ ระบุไว้
     โดยงานวิจัยนี้ตัวอิฐ 50 ก้อนจะใช้เวลาชาร์จ 13 นาที และสามารถให้พลังงานเพียงพอสำหรับจ่ายไฟให้ไฟฉุกเฉินของอาคารเป็นเวลาอย่างน้อย 50 นาทีและสามารถชาร์ตซ้ำได้

เรียบเรียงโดย

ขนิษเนตร เมธาเกียรติกุล
บริษัท ซินเซียร์ลี่สกรีน จำกัด

ที่มา
https://www.newscientist.com/article/2251449-ordinary-bricks-laced-with-conductive-fibres-can-store-energy/

TINPA Grab the Innovation
#0002 [JAN 2022]

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้