.. วิศวกรสร้างเอนไซม์ที่สามารถย่อยสลายขยะพลาสติกได้.. ในไม่กี่ชั่วโมง
เป็นที่ทราบกันดีว่าปัญหาขยะพลาสติกนั้นเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบัน และนักวิทยาศาสตร์ก็พยายามอย่างหนักในการหาวิธีใช้งานพลาสติกโดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
ได้มีการค้นคว้าใหม่ในการลดเวลาในการย่อยสลายพลาสติกอย่างมากโดยการใช้เอนไซม์ที่สร้างมาโดยเฉพาะ โดยทีมผู้คิดค้นเอนไซม์ชนิดนี้กล่าวว่า “เราสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปทำความสะอาดพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องขยะพลาสติก”
ในการทดสอบนั้น ได้นำวัสดุจำพวก PET มาย่อยสลายโดยเอนไซม์ชนิดนี้ ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ บางชนิดใช้เวลาเพียง 24 ชั่วโมง ซึ่งเทียบกับในสภาวะปกติแล้ว จะใช้เวลามากถึงร้อยปีในการย่อยสลาย
วิศวกรเคมี Hal Aper จากมหาวิทยาลัยเท็กซัสออสติน กล่าวว่า “ความเป็นไปได้นั้นไม่มีที่สิ้นสุดในการใช้กระบวนการนี้รีไซเคิลในทุกอุตสาหกรรม”
“นอกเหนือจากอุตสาหกรรมการกำจัดขยะ เทคโนโลยีนี้สามารถทำให้ทุกๆภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการรีไซเคิลสินค้าของพวกเขา”
ทีมผู้คิดค้นได้ตั้งเชื่อเรียกเอนไซม์ตัวนี้ว่า FAST-PETase โดย FAST เป็นมีความหมายว่า functional, active, stable, และ tolerant และ PETase เป็นเอนไซม์ที่เร่งปฏิกิริยาต่อ PET ให้เกิดการย่อยสลายได้เร็วขึ้น เอนไซม์ตัวนี้พัฒนามาจาก PETase และนำมาปรับแต่งด้วย machine learning ให้เกิดการกลายพันธุ์ 5 จุด เพื่อทำให้สามารถย่อยสลายพลาสติกได้เร็วยิ่งขึ้นภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ต่างกัน
เมื่อเอนไซม์นั้นทำปฏิกิริยา depolymerization หรือการทำให้ polymer แตกตัว เสร็จเรียบร้อยแล้ว นักวิจัยได้สาธิตการนำโมเลกุลเหล่านั้นประกอบกลับเข้าไปใหม่ด้วยกระบวนการทางเคมี หรือ repolymerization เพื่อสร้างพลาสติกชิ้นใหม่ถัดไป
การคิดค้น FAST-PETase นั้น ผู้คิดค้นได้ศึกษาบรรจุภัณฑ์พลาสติกจากสินค้า 51 ประเภท, polyester fiber 5 ชนิด, ผ้าชนิดต่างๆ, และขวดน้ำผลิตจาก PET