อุปกรณ์ 3D Bioprinter ทดสอบโดยนักบินอวกาศ อาจสามารถ 'รักษา' บาดแผลได้ Astronaut-tested 3D Bioprinter Could 'Tape' Wounds Closed
อุปกรณ์ 3D Bioprinter ทดสอบโดยนักบินอวกาศ อาจสามารถ 'รักษา' บาดแผลได้
Astronaut-tested 3D Bioprinter Could 'Tape' Wounds Closed
ได้มีรายงานของ ZME Science เกี่ยวกับการใช้เซลล์ที่มีชีวิตและโมเลกุลทางชีววิทยาเพื่อเป็นโครงสร้างในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อโดยใช้วิธีการพิมพ์ทางชีวภาพ (Bioprinting) ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการนำเครื่อง Bioprint FirstAid Handheld Bioprinter ไปยังสถานีอวกาศนานาชาติเพื่อให้นักบินอวกาศทดสอบการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
อุปกรณ์ดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยองค์การอวกาศของประเทศเยอรมัน (DLR) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักบินอวกาศที่ถูกตัดขาดจากระบบการรักษาพยาบาล สามารถปฐมพยาบาลโดยวิธีการพันแผลด้วยการใช้เซลล์ผิวหนังของนักบินอวกาศเอง
ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงนั้น เนื้อเยื่อผิวหนังจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างจากปกติ ตัวอย่างเช่น ตามรายงานของ ZME Science กล่าวว่า แรงโน้มถ่วงที่น้อยลง จะเพิ่มระยะเวลาการรักษาบาดแผลให้นานมากขึ้น
ในการทดสอบบนอวกาศนั้น อุปกรณ์นี้ใช้อนุภาคเรืองแสงขนาดเล็กแทนเซลล์ผิวหนัง ผสมกับเจลที่มีคุณสมบัติการรักษาอย่างรวดเร็ว แล้วนำไปพิมพ์เป็นแผ่นปะอยู่บนขาหรือแขนที่หุ้มด้วยกระดาษฟอยล์ของนักบินอวกาศ และนำกลับไปยังโลกเพื่อทำการทดสอบในขั้นต่อไป
ส่วนในการใช้งานจริง แผ่นปะที่ใช้นั้นอาจจะต้องมีส่วนเซลล์ของผู้ที่ได้รับการรักษา เนื่องจากเพื่อป้องกันความเสี่ยงของการเข้ากันไม่ได้ระหว่างแผ่นปะกับผู้เข้ารับการรักษา
ตามข้อมูลของ DLR กล่าวว่า การพิมพ์ทางชีวภาพแบบพกพา (Mobile Bioprinting) ดังกล่าวไม่เพียงแต่ทำให้บาดแผลหายเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังแสดงถึงการวิวัฒนาการไปอีกขั้นทางการแพทย์เพื่อรักษาเฉพาะบุคคลทั้งบนโลกและในอวกาศ
เรียบเรียงโดย
กนกลักษณ์ อัครพลสุวรรณ
บริษัท เจนนิซิส กราฟฟิค เคนเวิลด์ จำกัด
ที่มา:
https://www.cosmeticsandtoiletries.com/research/tech-transfer/news/22005649/astronauttested-3d-bioprinter-could-tape-wounds-closed
TINPA Print the Innovation
#0008 [APR 2022]