3D Printed Patch to Combat COVID-19
แผ่นแปะวัคซีนจากเทคโนโลยี 3D Printing เพื่อป้องกันโรค COVID-19
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมาได้มีการร่วมมือกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Stanford และมหาวิทยาลัย North Carolina at Chapel Hill ในการพัฒนาวัคซีนชนิดแปะ โดยพิมพ์ออกมาจากเครื่อง 3D Printer ซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันเชื้อไวรัสได้ดีกว่าวัคซีนชนิดฉีดจากเข็มทั่วไป
การที่แปะแผ่นวัคซีนโดยตรงลงบนผิวหนังทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายนั้นดีขึ้น โดยทีมนักจุลชีววิทยา และวิศวกรเคมีได้พัฒนาต่อยอดวัคซีน mRNA ปัจจุบันโดยใช้แผ่นแปะที่มีเข็ม microneedle ที่สามารถทะลุผ่านผิวหนังเพื่อที่จะกระจายวัคซีนได้ และด้วยเทคโนโลยี 3D Printing ทำให้สามารถสร้างวัคซีนจากโพลิเมอร์ได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นโรคหวัด, โรคหัด, โรคตับอักเสบ, หรือแม้กระทั่ง COVID-19
ผลการทดลองพบว่าปฏิกิริยาจาก T-cell และ antibody ต่างๆนั้นได้ผลดีกว่าวัคซีนทั่วไปถึง 50 เท่า นอกจากนั้น วัคซีนจากเครื่อง 3D Printer นี้ไม่จำเป็นจะต้องมีการเก็บรักษาในอุณหภูมิต่ำ หรือต้องมีบุคลากรที่มีความสามารถในการฉีดวัคซีน
คุณ Shaomin Tian ผู้เป็น lead study author จากภาควิชาจุลชีววิทยา และภูมิคุ้มกันวิทยา แห่ง UNC School of Medicine กล่าวว่า “วิธีนี้ทำให้เราสามารถ 3D print แผ่น microneedle ได้อย่างมีอิสระ เพื่อที่จะสร้าง microneedle ที่ดีที่สุดในแง่ของคุณภาพ และราคา”
Microneedle นั้นถูกคิดค้นขึ้นที่ University of North Caroline at Chapel Hill โดยใช้เครื่องพิมพ์ CLIP prototype 3D printer นำมาสร้างโดยบริษัท CARBON
เรียบเรียงโดย
วีรณัฐ ณรงค์ฤทธิ์
บริษัท ปภาวิน จำกัด
แหล่งที่มา:
https://www.screenprintindia.com/3d-printed-patch-to-combat-covid-19/
TINPA Print the Innovation
#0004 [MAR 2022]